บทความ

ประโยชน์ที่ได้รับ

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาในศาสตร์พระราชาในเรื่อง โครงการ กังหันน้ำชัยพัมนา  ได้รับประโยชน์ดังนี้ 1. ได้เข้าใจในโครงการนี้มากขึ้น 2. ได้ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์พระราชา 3. ได้รับแนวทางในการพัฒนาน้ำ  ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังจากได้ศึกษา ศาสตร์พระราชา โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนามีดังนี้ สมาชิกคนที่1 ด.ญ. กุลกัญญา  สุขส่ง  มีความเห็นว่า กังหันน้ำนั้นได้ช่วยพัฒนาระบบนิเวศในน้ำได้ดีมาก และยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ดังนี้  สามารถจำลองกังหันน้ำชัยพัฒนาแล้วนำมาใช้ในโรงเรียนได้ สมาชิกคนที่ 2 ด.ญ.พลอยชมพู  โสจันทึก  มีความเห็นว่า สามารถพัฒนาคุณภาพน้ำได้เป็นอย่างดี  และยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้  สามารถช่วยเกษตรกรมีเครื่องมือในการพัฒนาน้ำที่เน่าเสียให้ดีขึ้นได้ สมาชิกคนที่ 3 ด.ญ. ฟ้าประทาน  สุโขษา    มีความเห็นว่า  เป็นการทำให้น้ำที่เน่าเสียกับมาใช้ใหม่ได้ และยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้ สามารถนำมาพัฒนาชุมชนได้

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์       1.  เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริและโครงการพัฒนาอื่นๆ            2.   เพื่อส่งเสริม การพัฒนาสงเคราะห์และช่วยเหลือประชาชนใน ด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น และให้สามารถช่วย ตัวเองและพึ่งตนเองได้            3.   ดำเนินการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ เป็นส่วนรวม            4.   ร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อ สาธารณประโยชน์ หรือดำเนินการเพื่อเน้นในการสนับสนุน สาธารณประโยชน์             5.   ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง

คุณค่าต่อสังคมไทย

รูปภาพ
                                                     คุณค่าต่อสังคมไทย       กรุงเทพฯต้องมีพื้นที่หายใจ แต่ที่นี่เราถือว่าเป็นไตกำจัดสิ่ง สกปรกและโรค สวนสาธารณะถือว่าเป็นปอด แต่นี้เหมือนไต ฟอกเลือดถ้าไตทำงานไม่ดีเราตาย อยากให้เข้าใจหลักของ ความคิดอันนี้

สิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลก

รูปภาพ
                เป็นที่น่าปิติยินดีเป็นล้นพ้นแก่ปวงพสกนิกรไทยทั้งมวล  เมื่อเครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"  ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่  2  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536  นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกที่ได้รับการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์ด้วย  จึงนับได้ว่า "สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก"

รูปแบบกังหันน้ำชัยพัฒนา

รูปภาพ
                        รูปแบบกังหันน้ำชัยพัฒนา                           เครื่องกลเติมอากาศ  "กังหันน้ำชัยพัฒนา"  แบบทุ่นลอย  สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของน้ำ ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00 เมตร มีซองตักน้ำขนาดบรรจุ 110 ลิตร  ติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง เจาะรูซองน้ำพรุน เพื่อให้น้ำไหลกระจายใต้น้ำ  สามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับความลึกใต้ผิวน้ำเป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวนการทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสานและการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทางที่กำหนดโดยพร้อมกัน รูปกังหันน้ำชัยพัฒนา รูปแบบ A (ปี 2535-2536)  ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนโดยใช้ระบบขับส่งกำลังด้วยเฟืองจานโซ่ร่วมกับเกียร์มอเตอร์ขนาด 1 : 50  ใช้มอเตอร์ 2 แรงม้า รูปกังหันน้ำชัยพัฒนา รูปแบบ B (ปี 2538)   ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนโดยใช้ระบบขับส่งกำลังด้วยชุดเกียร์ทดรอบขนาด 1:300 ใช้มอเตอร์ 1 แรงม้า ขับ 1 ข้าง รูปกังหันน้ำชัยพัฒนา รูปแบบ C (ปี 2537)  เหมือนรูปแบบ A แต่ใช้ในกรณีที่ต้องการขับเคลื่อนแล่นไปตามแหล่งน้ำด

คุณสมบัติ

รูปภาพ
คุณสมบัติ                                       กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (Chaipattana Low Speed Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ ที่มีความลึกมากกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3.00 เมตร

การศึกษา วิจัย และการพัฒนา

รูปภาพ
การศึกาา วิจัย และการพัฒนา                               กรมชลประทานรับสนองพระราชดำริในการศึกษาและสร้างต้นแบบ โดยดัดแปลงเครื่องสูบน้ำพลังน้ำจาก "กังหันน้ำสูบน้ำทุ่นลอย" เปลี่ยนเป็น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" และได้นำไปติดตั้งใช้ในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระยะเวลา 4-5 ปี